2.4 การออกแบบเงื่อนไข

การออกแบบเงื่อนไขที่ชัดเจนจะทำให้ขั้นตอนวิธีทำงานได้ถูกต้อง มีความชัดเจนและไม่คลุมเครือ โดยอาจเป็นการระบุเงื่อนไขอย่างง่ายที่เป็นการเปรียบเทียบ เช่น มากกว่า น้อยกว่า เท่ากัน หรือไม่เท่ากัน


ตัวเอย่างเช่น การหาค่าสูงสุด มีการใช้เงื่อนไขคือ ถ้า x > Max แล้ว ให้ Max<--x

นอกจากนี้ในบางกรณีจะต้องมีการระบุเงื่อนไขที่ซับซ้อนโดยใช้ตัวดำเนินการตรรกะ “และ” (AND) “หรือ” (OR) และ “นิเสธ” (NOT) เช่น รถยนต์ความเร็วมากกว่า 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และ ไม่เกิน 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เมื่อกำหนดให้ x เป็นความเร็วรถยนต์ สามารถเขียนได้เป็น x >40 AND <= 90 ซึ่งเมื่อแทนค่า x และจะสามมารถหาค่าความจริงได้ โดยค่าความจริงของเงื่อนไขที่ใช้ตัวดำเนินการตรรกะดังตาราง

ตัวอย่างสถานการณ์


สมมติพื้นที่ของโรงเรียนเป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากที่มีด้านขนานกับแกนตั้งและแกนนอน โดยมีพิกัดมุมล่างซ้ายอยู่ที่ตําาแหน่ง (1,1) และมุมบนขวาในแผนที่อยู่ที่ (4,3) นักเรียนคนหนึ่งอยู่ที่ ตําาแหน่ง (x,y) เงื่อนไขที่ระบุว่านักเรียนอยู่ในโรงเรียนสามารถเขียนได้หลายแบบ เช่น

เงื่อนไข แบบที่ 1 : พิกัด (x,y) อยู่ในขอบเขตของโรงเรียนเงื่อนไข แบบที่ 2 : 1 < x < 4 และ 1 < y < 3

เงื่อนไข แบบที่ 3 : (1 < x) และ (x < 4) และ (1 < y) และ (y < 3)


กิจกรรมที่ 5 การออกแบบเงื่อนไข ให้นักเรียนเขียนโปรแกรมด้วย Kidbright โดยใช้คำสั่งเงื่อนไข แล้วบันทึกหน้าจอส่งในช่องความคิดเห็นพร้อมทั้งตั้งชื่อโปรแกรม