โครงสร้างในการเขียนโปรแกรม

1. การทำงานแบบตามลำดับ (Sequence) คือการเขียนให้การทำงานจากบนลงล่าง เขียนคำสั่งเป็นบรรทัด และทำทีละบรรทัดจากบรรทัดบนสุดลงไปจนถึงบรรทัดล่างสุด สมมุติให้มีการทำงาน 3 กระบวนการ ได้แก่ อ่านข้อมูล คำนวณ และพิมพ์ โดยเขียนเป็นผังงาน(Flowchart) ได้ดังภาพ



ตัวอย่างเช่น การไปซื้อของที่ตลาดและการหาค่าพื้นที่ของวงกลม



2. การเลือกกระทำตามเงื่อนไข (Decision) คือการเขียนโปรแกรมเพื่อนำค่าไปเลือกกระทำ โดยปกติจะมีเหตุการณ์ให้ทำ 2 กระบวนการ ได้แก่ เงื่อนไขเป็นจริงจะทำกระบวนการหนึ่ง และเป็นเท็จจะกระทำกระบวนการหนึ่ง แต่ถ้าซับซ้อนมากขึ้น จะต้องใช้เงื่อนไขหลายชั้น เช่น การตัดเกรดนักเรียน เป็นต้น ตัวอย่างผังงานนี้จะแสดงผลการเลือกอย่างง่าย เพื่อกระทำกระบวนการเพียงกระบวนการเดียว ดังภาพ

ตัวอย่าง เช่น การจ่ายเงินค่าสินค้าในร้านสะดวกซื้อหรือห้างสรรพสินค้าและการคิดอัตราดอกเบี้ย

3. การทำซ้ำ (Repeation or Loop) คือการทำกระบวนการหนึ่งหลายครั้ง โดยมีเงื่อนไขในการควบคุม การทำซ้ำเป็นหลักการทำความเข้าใจได้ยากกว่า 2 รูปแบบแรก เพราะการเขียนโปรแกรมแต่ละภาษา จะไม่แสดงภาพอย่างชัดเจนเหมือนการเขียนผังงาน(Flowchart) ผู้เขียนโปรแกรมต้องจินตนาการถึงรูปแบบการทำงานและใช้คำสั่งควบคุมด้วยตนเอง ตัวอย่างผังงานที่นำมาแสดงนี้เป็นการแสดงการทำซ้ำ ซึ่งหมายถึง การทำซ้ำในขณะที่เป็นจริง และเลิกทำซ้ำเมื่อเงื่อนไขเป็นเท็จ ดังภาพ


ตัวอย่าง เช่น การตักน้ำให้เต็มตุ่มและการตรวจสอบตัว