รู้จักโปรแกรม Scratch
ทำไมต้องใช้ Scratch
โปรแกรม Scratch อ่านว่า (สะ-แครช) เป็นโปรแกรมภาษา ที่ผู้เรียนสามารถสร้างชิ้นงานได้ อย่างง่าย เช่น นิทานที่สามารถโต้ตอบกับผู้อ่านได้ ภาพเคลื่อนไหว เกม ดนตรี และศิลปะและเมื่อสร้าง
เป็นชิ้นงานเสร็จแล้วสามารถนำชิ้นงานที่สร้างสรรค์นี้แสดงและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกับผู้อื่นบน เว็บไซต์ได้ ทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้หลักการและแนวคิดการโปรแกรมไปพร้อมๆ กับการคิดอย่างสร้างสรรค์ มีเหตุผล เป็นระบบและเกิดการทำงานร่วมกัน
ส่วนประกอบหลักของโปรแกรม
หน้าต่างการทำงานของโปรแกรม Scratch มีส่วนประกอบหลักดังนี้
1. แถบเมนูเครื่องมือ (Toolbar)
ปุ่มเปลี่ยนภาษา
เมนู เปิด-บันทึกโปรเจกต์ บันทึกวิดีโอ แชร์เว็บไซต์ เช็คอัพเดท และปิดโปรแกรม
เมนู แก้ไขการตั้งค่า
เมนู แนะนำโปรแกรมตัวอย่าง
เมนู เว็บไซต์ http://scratch.mit.edu/
2. เครื่องมือเวที (Stage Toolbar)
ปุ่มประทับตราตัวละคร
ปุ่มลบตัวละคร
ปุ่มเพิ่มขนาดตัวละคร
ปุ่มลดขนาดตัวละคร
ปุ่มช่วยเหลือให้คำแนะนำ
3. ข้อมูลของตัวละครที่ถูกเลือก
รู้จักโปรเจกต์
โปรเจกต์ใน Scratch มีโครงสร้าง 3 ส่วนประกอบด้วย
1. เวที (Stage)
2. ตัวละคร (Sprite)
3. สคริปต์ (Script)
เวที
เวทีมีขนาดกว้าง 480 หน่วย สูง 360 หน่วย ในแต่ละโปรเจกต์มีเวทีเดียว จึงมีชื่อเดียวและ ไม่สามารถเปลี่ยนชื่อได้ เวทีใช้แสดงผลการทำงานของสคริปต์ (script) เสียง (sound) หรือฉาก (background) ได้ และฉากที่จะแสดงบนเวทีจะต้องมีขนาดไม่เกินขนาดของเวที (480 X 360) ถ้าพื้นหลังที่ใช้มีขนาดใหญ่กว่า โปรแกรม Scratch จะลดขนาดพื้นหลังนั้นอัตโนมัติเพื่อให้พอดีกับขนาดของเวที
รายละเอียดของเวที
1. คลิก Stage เพื่อดูรายละเอียดของเวที
2. แท็บ Scripts ของเวที
3. แท็บ Backdrops
4. แท็บ Sounds
5. เพิ่มฉากใหม่ New Backdrop
6. ฉากทั้งหมดที่มีอยู่บนเวที
การบอกตำแหน่งใดๆ บนเวทีจะบอกโดยใช้ค่า (x, y) โดยค่า x และ y ที่ตำแหน่ง (0, 0) จะอยู่ตรงกลางเวที
ตัวละคร
ตัวละครแต่ละตัวจะมีข้อมูลแตกต่างกัน โดยสามารถคลิก ที่ตัวละคร เพื่อดูข้อมูลของตัวละครนั้น เช่น ตัวละครปลา มีข้อมูลดังตาราง
1) ชื่อตัวละคร
โปรแกรมจะตั้งชื่อตัวละครให้เป็น Sprite1, Sprite2, Sprite3… ตามลำดับที่สร้างขึ้นโดยอัตโนมัติถ้าต้องการเปลี่ยนชื่อตัวละครให้พิมพ์ชื่อใหม่บนแถบชื่อหมายเลข 1 ตามภาพ
2) ชุดตัวละคร
ชุดตัวละคร (Costumes) เป็นภาพของตัวละคร ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลง ภาพเดิม หรือเพิ่มภาพใหม่และอาจเขียนสคริปต์เพิ่มให้กับตัวละครเปลี่ยนชุด หรือให้มองเห็นเป็นการ เคลื่อนไหวใน รูปแบบต่างๆ ตามต้องการ
รายละเอียดชุดตัวละคร
1. คลิกที่ตัวละคร Monkey2
2. คลิกแท็บ Costumes
3. คลิกขวาที่ชุดตัวละครที่ต้องการ จะปรากฏเมนูคัดลอก ลบ และบันทึกชุดตัวละคร
4. ตัวละครในตัวอย่างมีชื่อว่า monkey2 ประกอบด้วยชุดตัวละคร 2 ชุด
ชื่อชุดตัวละครที่ 1 ชื่อว่า monkey2-a มีลักษณะยกมือขึ้น 2 ข้าง
ชื่อชุดตัวละครที่ 2 ชื่อว่า monkey2-b มีลักษณะมือลงทั้ง 2 ข้าง
5. พื้นที่ออกแบบและแก้ไขชุดตัวละครที่เลือก
สคริปต์
สคริปต์คือชุดคำสั่งสำหรับตัวละครหรือเวที เพื่อสั่งให้ตัวละครหรือเวทีทำงานตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการโดยการเลือกสคริปต์จากกลุ่มบล็อก ซึ่งแบ่งเป็นกลุ่ม ดังนี้
เมื่อคลิกที่กลุ่มบล็อกใด จะปรากฏบล็อกในกลุ่มนั้น บล็อกสำหรับตัวละครและเวทีอาจมี ความแตกต่างกันบ้างเช่น กลุ่มบล็อก Motion ของตัวละครจะมีบล็อกดังรูปด้านซ้าย ส่วนรูปด้านขวาเป็นของเวทีซึ่งไม่มีบล็อก Motion เนื่องจากเวทีเคลื่อนที่ไม่ได้
บล็อก Motion สำหรับตัวละคร
ไม่มีบล็อก Motion สำหรับเวที
สคริปต์หนึ่งๆ ประกอบไปด้วยบล็อกมาเรียงต่อกันเป็นกลุ่ม บางบล็อกสามารถอยู่ข้างในหรือซ้อนอยู่บนบล็อกอื่นได้
การสั่งให้โปรเจกต์เริ่มทำงานและหยุดทำงาน
การสั่งให้โปรเจกต์เริ่มทำงาน ทำได้โดยคลิก
ซึ่งอยู่มุมขวาบนของเวที โดยทุกสคริปต์ของ ทุกตัวละครและเวที ที่เริ่มต้นสคริปต์ด้วยบล็อก
จะเริ่มทำงานพร้อมกันและถ้าต้องการหยุดการทำงานทั้งโปรเจกต์ ให้คลิก
การบันทึกโปรเจกต์
1. คลิกเมนู File -> Save หรือ Save As จะปรากฏกรอบโต้ตอบ Save Project
2. เลือก Drive และ Folder ที่ต้องการบันทึกงาน
3. พิมพ์ชื่อโปรเจกต์
4. คลิกปุ่ม Save โปรเจกต์จะถูกบันทึก จะได้ไฟล์ข้อมูลที่มีส่วนขยายเป็น .sb2 ในโฟล์เดอร์ที่ใช้
บันทึกงาน เช่น Activity1_1.sb2
เรามาทำใบงานกันเถอะ