5.2 การสร้างและใช้งานคอมโพเน้นท์ (Component)

5.2 การสร้างและใช้งานคอมโพเน้นท์ (Component)

สำหรับการสร้างและใช้งาน Component นอกจากจะสร้างขึ้นมาแล้ว หลังจากสร้างเสร็จต้องกำหนดรายละเอียดเพิ่มเติมเพื่อให้ Component ที่ได้เหมาะสมกับการนำไปใช้งานมากที่สุด

การสร้างและใช้งาน Component ทำได้ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้

1. ใช้เครื่องมือ Rectangle สร้างรูปสี่เหลี่ยม

2. ใช้เครื่องมือ Select Double Click เลือกพื้นผิวและเส้นขอบ

3. คลิกขวาแล้วเลือกคำสั่ง Make Component

4. กำหนดชื่อที่ต้องการ

5. คลิกช่อง Replace Selection with Component ให้ทำงาน เพื่อสั่งให้โปรแกรมสร้าง Component ลงไปแทนส่วนที่เลือกไว้

6. คลิกปุ่ม Create ส่วนที่เลือกจะถูกสร้างเป็น Component และมีกรอบสีน้ำเงินแสดงขึ้นมา

เมื่อต้องการแก้ไข Component ที่สร้างขึ้นให้ใช้วิธีการดังต่อไปนี้

1. Double Click บน Component

2. ส่วนอื่น ๆ จะถูกล็อกเอาไว้เหมือนการแก้ไข Group

3. แก้ไขด้วยเครื่องมือต่าง ๆ

4. เมื่อแก้ไขเสร็จ ให้คลิกขวาแล้วเลือกคำสั่ง Close Component

5. ใช้เครื่องมือ Move ก็อปปี้ Component เพิ่มขึ้นมา

6. เข้าไปแก้ไขรายละเอียดอีกครั้ง

7. Component ที่ Copy ไว้จะถูกแก้ไขตามไปด้วย (รวมไปถึงรายละเอียดของพื้นผิว)

การย้ายแกนและจุดฐาน component

แกนและจุดฐานเป็นส่วนที่สำคัญสำหรับการวาง Component เพราะเมื่อนำมาใช้งาน โปรแกรมจะใช้จุดฐานเป็นตัวกำหนดตำแหน่งในการวาง เช่น ต้นไม้ควรมีจุดฐานอยู่ที่โคนต้น เมื่อนำไปวางต้นไม้จะวางบนพื้นพอดี หากจุดฐานอยู่กึ่งกลางของต้นไม้เมื่อนำต้นไม้ไปวางจะจมดิน โดยการย้ายแกนและจุดฐานในขั้นตอนการสร้างทำได้โดย

1. คลิกขวาบน Component ที่ต้องการย้ายแกนและจุดฐาน แล้วเลือกคำสั่ง Change Axes

2. คลิกวางตำแหน่งจุดฐานลงไปและเลื่อนเมาส์กำหนดแกนต่าง ๆ จนครบ

3.จุดฐานและแกนเปลี่ยนไปตามที่เรากำหนด

Option กำหนดรายละเอียดสำหรับการสร้าง Component

ในไดอะล็อกบ๊อกซ์ Create Component จะมี Options สำหรับกำหนดรายละเอียดต่าง ๆ อยู่หลายตัว Options สำหรับกำหนดรายละเอียดต่าง ๆ สำหรับการสร้าง Component มีดังนี้

ความหมาย

A. Name และ Description สำหรับกำหนดชื่อและรายละเอียดเพิ่มเติมให้ Component

B. Glue to None ไม่มีการกำหนดระนาบสำหรับวาง Component การวางจะอยู่ในแนวระนาบเสมอ

C. Glue to Any กำหนดให้การวาง Component เปลี่ยนไปตามแนวระนาบของพื้นผิวที่นำไปวาง

D. Glue to Horizontal กำหนดให้ Component ถูกล็อคการวางให้วางได้ในแนวระนาบพื้น

E. Glue to Vertical กำหนดให้ Component ถูกล็อคการวางให้วางได้ในแนวตั้ง

F. Glue to Sloped กำหนดให้ Component ถูกวางได้ในแนวเอียง

G. Cut Opening ใช้ได้เมื่อ Glue to ถูกกำหนดเป็นค่าใดก็ได้ยกเว้น None หากเลือกข้อนี้ไว้และชิ้นส่วนที่เราเลือกมีช่องว่าง เมื่อนำไปวางบนพื้นผิวโปรแกรมจะเจาะพื้นที่ผิวบริเวณที่วางให้ด้วย มักจะใช้กับ Component ที่เป็นประตูหรือหน้าต่าง

H. Always face cameras ใช้ได้เมื่อ GLue to เป็น None เท่านั้น หากเลือกข้อนี้ไว้ ชิ้นงานจะหันหน้าหามุมมองปัจจุบันเสมอ

I. Shadow face sun ใช้ได้เมื่อเลือก Always face camera ไว้เท่านั้น หากเลือกข้อนี้จะทำให้เงาของ Component ไม่เปลี่ยนรูปตามมุมมองที่เปลี่ยน

การแก้ไข Component

Component ที่สร้างหรือเลือกมาใช้งานจะถูกเก็บไว้ในส่วนของ In Model ถ้าต้องการแก้ไข สามารถเข้าไปที่ส่วนดังกล่าวแล้วเลือก Component ที่ต้องการแก้ไข จากนั้นจึงแก้ไขตามหัวข้อการแก้ไข Component เช่น

1. ในไดอะล็อกบ็อกซ์ Components คลิกปุ่มสามเหลี่ยมเล็ก ๆ หลังรูปบ้านแล้วเลือก In model

2. Component จะแสดงขึ้นมา

3. คลิกเลือก Component ที่ต้องการแก้ไข

4. คลิกที่ Tab Edit

5. แก้ไขรายละเอียดได้ตามต้องการ

ที่มา : http://edkrucom.blogspot.com/2012/09/components-google-sketchup.html#more