02.ส่วนประกอบของโปรแกรม Adobe Flash CS6

ส่วนประกอบของโปรแกรม Adobe Flash cs6

1. ปุ่มแสดงหรือซ่อน Timeline

2. เลเยอร์ เฟรมจะต้องวางบนเลเยอร

3. ปุ่มซ่อนและแสดงข้อมูลบนเลเยอร์

4. ปุ่มอนุญาตให้แก้ไขและป้องการแก้ไข

ข้อมูลบนเลเยอร์

5. เพลย์เฮดหัวอ่านเฟรมแต่ละช่อง

6. หมายเลขประจำเฟรม

7. เฟรม เปรียบเหมือนช่องเก็บเหตุการณ์ของมูฟวี่

8. ปุ่มสร้างเลเยอร์ใหม่

9. ปุ่มสร้างโฟล์เดอร์เลเยอร์

10.ปุ่มลบเลเยอร์

11. ปุ่มเซ็นเตอร์เฟรม

12. ปุ่มโอเนียน สกิน

13. ปุ่มโอเนียน สกินแบบโครงร่าง

14. ปุ่มแก้ไขเฟรมหลายเฟรมพร้อมกัน

15. บอกตำแหน่งหมายเลขเฟรมในขณะทำงาน

16. บอกความเร็วการแสดงกี่เฟรมต่อวินาที

17. เวลาที่ใช้ในการมูฟวี่

เมนูบาร์ (Menu Bar)

แถบเมนูแสดงรายการคำสั่งต่างๆ ของโปรแกรมทั้งหมด ได้แก่ การสร้างชิ้นงาน การสร้างมูฟวี่ รวมไปถึงการตั้งค่าต่าง

ทูลบ๊อกซ์ (Toolbox)

แสดงปุ่มเครื่องมือเป็นส่วนรวบรวมเครื่องมือชนิดต่าง ๆ ในการสร้าง ปรับแต่ง และแก้ไขชิ้นงาน ที่อยู่ใน Movie โดยแบ่งเป็น 4 กลุ่มย่อยคือ กลุ่มเครื่องมือ กลุ่มมุมมอง กลุ่มกำหนดสี และกลุ่มออบชั่นของเครื่องมือ

Timeline

หน้าต่างแสดงเส้นควบคุมเวลาสำหรับการนำเสนอผลงาน ประกอบด้วยส่วนทำงานเกี่ยวกับ Layer และ Timeline

เราแบ่งไทมไลน์เป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ ได้แก่

1. ส่วนแสดงเลเยอร์ (Layer) ซึ่งแต่ละเลเยอร์เปรียบเหมือนแผนใสที่สามารถวางภาพหรือออบเจ็กต์ได้ โดยแต่ละเลเยอร์นั้นแยกเป็นอิสระต่อกัน แต่ประกอบกันเป็นชันงานเดียว (เราจะกล่าวถึงเรื่องเลเยอร์เพิ่มเติมภายหลัง)

2. ส่วนเฟรม (Frame) ที่แสดงช่องเฟรมต่างๆ ซึ่งทำงานเหมือนกับเฟรมที่ประกอบกันเป็นภาพยนตร์โดยเมื่อมีการนำเฟรมเหล่านี้มาแสดง อย่างต่อเนื่องก็จะทำให้เกิดภาพเคลื่อนไหว ทั้งนี้ Frame จะแสดงผล ทีละเฟรม โดยจะมีหัวอ่าน (Playhead) ที่เป็นส้นสีแดงคอยบอกตำแหน่งว่างกำลังทำงานอยู่ที่เฟรมใด

เราสามารถเปิด/ปิดไทมไลน์นี้ได้โดยคำสั่ง View > Thmeline ให้มีเครื่องหมายถูกอยู่หน้าคำว่า Timeline เพื่อเปิดไทมไลน์ และใช้คำสั่ง View >

Timeline อีกครั้งยกเลิกเครื่องหมายถูกเพื่อปิดไทมไลน์ซึ่งเราอาจเปรียบการทำงานของไทมไลน์เหมือนกับม่วนฟิลม์ ในขณะที่สเตจคือส่วนที่แสดงแต่ละเฟรม

ในม้วนฟิลม์นั้นตามลำดับที่กำหนดไว้

เราสามารถแบ่งไฟล์ชิ้นงานที่สร้างเป็นส่วนย่อยๆ ที่เรียกว่าฉากหรือซีน (Scene) โดยในโดยในมูฟวี่หนึ่งๆ จะประกอบด้วยซีนหรือหลายซีนก็ได้ เนื่องจากจะทำงานได้ทีละซีนนั้นจึงต้องเลือกซีนที่จำทำงานด้ยโดยคลิกที่เมนู Window > Other Panels > Scene หรือเลือกใช้ปุ่ม การแทรกซีนสามารถแทรกได้

โดยเลือกที่เมนูคำสั่ง Inserts > Scene1

สเตจ (Stage) และพื้นที่ทำงาน

ประกอบด้วยพื้นที่ว่างสำหรับวางวัตถุแบบชั่วคราว และพื้นที่ของเวที (Stage)

พื้นที่สีขาวบริเวณกลางจอคือ สเตจ เป็นพื้นที่ใช้จัดวางออบเจ็กต์ต่าง ๆ ที่ต้องการแสดงให้เห็น ในชิ้นงาน ส่วนพื้นที่สีเทาด้านนอกบริเวณสีขาวคือ Pasteboard เป็นบริเวณที่สามารถนำออบเจ็กต์ ต่าง ๆ มาวาง พักไว้หรือวางซ่อนไว้ได้เพราะบริเวณนี้จะไม่แสดงผลเวลาที่เรา Export Movie เป็นไฟล์ .SWF

เราสามารถเปิด/ปิดพื้นที่การทำงานโดยสั่ง View > Work Area ให้มีเครื่องถูกหน้าคำว่า Work Area เพื่อปิดพื้นที่การทำงาน (หรือจะกดคีย์ลัด <Ctrl>+<Shift>+<W> ก็ได้)

พาเนล

พาเนลคือหน้าต่างทีรวบรวมเครื่องมือต่างๆ สำหรับใช้ในการปรับแต่งออบเจ็กต์ ซึ่งใน Flash ได้มีการจัดพาเนลต่างๆ ไว้อย่างเป็นหมวดหมู่ตามหน้าที่ของมันให้เราเรียกใช้ได้ พาเนลสำคัญที่ควรรู้จักดังนี้

Property Inspector

Property Inspector เป็นพาเนลที่ใช้แสดงคุณสมบัติต่าง ๆ ของออบเจ็กต์ที่เราคลิกเลือก ซึ่งเราสามารถปรับแต่งคุณสมบัติ้หล่านี้ได้ ทั้งนี้รายละเอียดที่ Property Inspector จะเปลี่ยนไปตามออบเจ็กต์ที่เลือก โดยสามารถเยกเปิดใช้งาน Property Inspector ด้วยคำสั่ง Window > Properties >Properties หรือกดคีย์ลัด <Ctrl+F3>

พาเนล Color

พาเนล Colorเป็นพาเนลที่เลือกใช้สีและผสมสีตามที่ต้องการ ซึ่งจะนำไปใช้ปรับแต่งสีให้กับทั้งภาพวาดและตัวอักษรได้อย่างง่ายดาย โดยมีให้เลือกถึง 2 แท็บด้วยกันคือ Color Mixer ( ใช้ผสมสีเองตามต้องการ) และ Color Swatches (ใช้เลือกสีจากจานสีตามที่โปรแกรมกำหนดมาให้) โดยเราสามารถเรียกเปิดใช้งานพาเนล Color ด้วยคำสั่ง Window > Color Mixer

พาเนล Library

พาเนล Library หน้าต่างควบคุมเกี่ยวกับชุดวัตถุของโปรแกรม ได้แก่ Symbols, Buttons, Movies

อ้างอิง https://sites.google.com/site/krunittayacnp/kickrrm-nakreiyn-naksuksa