1.5 พื้นที่การทำงานใน Google SketchUp 8

1.5 พื้นที่การทำงานใน Google SketchUp 8

รู้จักกับพื้นที่การทำงาน Drawing Area Google SketchUp

การทำงานกับแนวแกนอ้างอิง

ในงานออกแบบโครงสร้างโมเดลต่างๆ จำเป็นต้องอาศัยความแม่นยำและเจาะจง เพื่อให้ชิ้นงานที่ออกมานั้นสามารถนำมาใช้ได้จริง โปรแกรม Google SketchUp มีแกนอ้างอิงไว้ให้เราใช้เป็นแกนหลักในการวาดภาพและขึ้นโมเดล รวมทั้งการทำงานอื่นๆ ซึ่งเมื่อเปิดโปรแกรมขึ้นมาเราจะพบแกนอ้างอิง 3 แกน ดังภาพ

จากภาพเราจะพบว่ามี 3 แกนวางตัดกัน ได้แก่ แกนสีน้ำเงิน (Blue Axis) แกนสีเขียว (Green Axis) และแกนสีแดง (Red Axis) ซึ่งใช้งานตามรูปแบบของแกน 3 มิติ (X,Y,Z) ส่วนจุดตัดของแกนทั้ง 3เรียกว่าจุดกำเนิด Origin)

การเข้าใจเกี่ยวกับแกนอ้างอิงจะมีประโยชน์ในการวาดเส้นและจัดวางวัตถุ รวมถึงการปรับมุมมองกล้องด้วย ซึ่งเป็นหลักสำคัญของการออกแบบ อาทิ การสร้างพื้นต้องยึดระนาบที่เกิดการตัดกันของแกนสีแดง และแกนสีเขียวเป็นหลัก (ระนาบ X,Y) และเมื่อต้องการสร้างผนังหรือกำแพง ความลึก เราจะใช้ระนาบแกนสีน้ำเงินและแกนสีเขียวเป็นหลัก หรือ ใช้แกนสีแดงและแกนสีน้ำเงินเป็นหลัก (X,Z)

คำสั่งบนแกนอ้างอิง

โปรแกรม Google SketchUp เป็นรูปแบบมาตรฐานที่คนส่วนใหญ่ใช้กัน เราสามารถกำหนดรูปแบบและลักษณะของการวางแกนได้ เพื่อความสะดวกในการทำงาน หรือบางครั้งก็เพื่อความถนัดของแต่ละคน สามารถใช้เมนูคำสั่งกับแกนได้โดย คลิกเมาส์ขวาที่แกนที่ต้องการกำหนดค่า จะปรากฏเมนูคำสั่งให้เราเลือก ดังภาพ

คำสั่ง Place

เป็นการจัดวางตำแหน่งของแกนตามความถนัดของเรา โดยคลิกขวาที่ตำแหน่งแกนที่ต้องการปรับ แล้วเลือกคำสั่ง Place จะปรากฏ ICON แกนขึ้นมา จากนั้นให้คลิกเลือกตำแหน่ง และหมุนเมาส์เพื่อปรับแกน ดังภาพ

คำสั่ง Move

Move เป็นคำสั่งการจัดวางตำแหน่งของแกนอ้างอิง และหมุนแนวแกนตามความต้องการของเรา โดยกำหนดระยะทางในช่อง Move และกำหนดองศาในการหมุน ใน Rotate ตามความถนัดของผู้ใช้

การกำหนดค่าในส่วน Move จะเป็นการกำหนดระยะทางที่ต้องการเปลี่ยน ส่วนการกำหนดค่า ในกรอบRotate เป็นการเปลี่ยนองศาที่ต้องการ เมื่อกำหนดค่าเรียบร้อยแล้วให้คลิกที่ปุ่ม OK

คำสั่ง Reset

หลังจากที่เราได้เปลี่ยนตำแหน่งหรือหมุนแกน ถ้าหากผู้ใช้ต้องการเรียกแกนกลับมาวางในตำแหน่งแนวเดิม ให้ใช้คำสั่ง Reset ดังภาพ

คำสั่ง Hide

กรณีที่ต้องการซ่อนแกน เพื่อนำเสนอโมเดลเราสามารถทำได้โดยคลิกเมาส์ขวาที่แกนแล้วเลือกคำสั่ง Hide และเมื่อต้องการแสดงแกนอ้างอิงกลับมาให้เลือกคำสั่ง View Axis แกนอ้างอิงก็จะกลับมา ดังภาพ

ที่มา : http://edkrucom.blogspot.com/2012/09/google-sketchup_19.html